ที่ตั้ง หน้าหมู่บ้านไอดีไซน์ ใกล้สำนักงานเขต คลองสามวา
คีย์รอย แผลคีรอย คีลอยด์
คีย์รอย แผลคีรอย คีลอยด์ รักษาด้วยการ ฉีดยา หรือ ทาครีม แบบไหนดีกว่า ฟัง หมอเหมี่ยว กัญวราคลินิก

คีย์รอย แผลคีรอย คีลอยด์ รักษาด้วยการ ฉีดยา หรือ ทาครีม แบบไหนดีกว่า ฟัง หมอเหมี่ยว กัญวราคลินิก

คีลอยด์

ปัญหาแผลคีลอยด์ หมอเชื่อว่าหลายคนคงรู้จัก ถึงเป็นปัญหาที่ไม่อันตราย แต่ก็สร้างความไม่สบายใจให้ใครหลายคน เพราะ นอกจากเรื่องความสวยงามแล้ว ยังทำให้มีอาการคัน เจ็บ ระคาบเคือง อยู่บ้าง ในบทความนี้ หมอจะพามาทำความรู้จักกับคีลอยด์ รวมถึงการดูแล แนวทางรักษากันค่ะ

คียลอย คือ อะไร รู้ยังไงว่าเป็นคีย์ลอย

คีย์ลอยด์ คือ ชนิดนึงของแผลเป็น ที่ มีลักษณะเป็นแผลนูนแข็งอาจสีแดง ชมพู หรือซีดก็ได้ มีการขยายขนาดออกไปจากขอบเขตเดิมของแผลบางคน จะมีอาการคัน ตึง เจ็บร่วมด้วย หากทิ้งไว้มักไม่หายไปเอง และ อาจขยายขนาดใหญ่ขึ้นด้วยในบางรายค่ะ

แผลเป็นคีลอยด์เกิดจาก

คีย์รอย เกิดจาก การเคยมีแผลบริเวณนั้นมาก่อน อาจเป็นแค่เพียงเล็กเช่น แผลขีดข่วน หรือแผลที่ลึก เช่นแผลไฟไหม้ แผลจากอีสุกอีใส แผลจากสิวอักเสบ แผลจากเจาะหู  ซึ่งโดยธรรมชาติผิวเราจะมีกระบวนการซ่อมแซมบาดแผลให้มีคอลลาเจนและเนื้อเยื่อใหม่ขึ้นมา แต่ในคีลอยด์นั้น จะมีการสร้างคอลลาเจนมากเกินปกติ ทำให้เกิดเป็นแผลเป็นนูนคีลอยด์ได้   ซึ่งในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดว่าเป็นเพราะอะไร  แต่พบว่า คีลอยด์มักเกิดง่ายใน คนที่

  • คนที่ผิวสีเข้ม เช่น เชื้อชาติแอฟริกา คนเอเชียที่ผิวสีเข้ม
  • กรรมพันธุ์ มีสมาชิกในครอบครัวเป็นมาก่อน
  • อายุ มักพบในช่วงอายุ 10-30 ปี
  • ตำแหน่งที่เกิดได้บ่อยคือ ตำแหน่งที่ผิวมีความตึง ขยับ เสียดสี บ่อยๆ เช่น หัวไหล่ กลางหน้าอก ติ่งหู ขอบกระดูกกราม

แผลนูนกับคีลอยด์ต่างกันยังไง

แผลเป็นนูน (Hypertrophic scar) และ คีลอยด์(Keloid) ทั้งสองเป็นชนิดนึงของการเกิดแผลเป็น (Scar)

จะมีความแตกต่างกันที่

  • การขยายตัว แผลเป็นนูน จะมีลักษณะนูนขึ้นมาจากผิวหนังแต่ไม่มีการขยายไปนอกขอบเขตของแผลเดิม แต่คีลอยด์นั้น มีการขยายออกนอกขอบแผลเดิม
  • สี แผลเป็นนูน สีแดงหรือชมพู และจะค่อยๆสีจางลงไปเองตามเวลา ส่วนคีลอยด์สีจะเข้ม และมักสีไม่ค่อยจางลงเอง
  • การรักษา แผลเป็นนูน สามารถดีขึ้นได้เองแม้ไม่รักษา ใช้ระยะเวลา ประมาณ 6-12 เดือนหากต้องการรักษาสามารถใช้แผ่นซิลิโคนปิด, ฉีดสเตียรอยด์, เลเซอร์ ได้  ส่วนคีลอยด์ มักไม่หายเอง และอาจขยายขนาดขึ้นได้ รักษาด้วยวิธีคล้ายแผลเป็นนูน แต่มีการรักษาเพิ่มเติมคือ การผ่าตัด

คีลอยด์ หายได้เองมั้ย

   เนื่องจาก คีลอยด์ เกิดจากการสร้างคอลลาเจนมากเกินปกติ ทำให้ นูน แข็ง และขยายตัว ฉะนั้น คีลอยด์จึงไม่สามารถหายได้เองค่ะ

คีลอยด์รักษาหายมั้ย

   การรักษาคีลอยด์ สามารถทำให้คีลอยด์ยุบลง ขนาดเล็กลงได้ แต่จะไม่หายขาด ในช่วงของการรักษาหากรักษาต่อเนื่องอย่างถูกวิธี อาการจะทุเลาลง และ ไม่ถึงกับหายสนิท 100%เหมือนผิวปกติ กล่าวคือ ส่วนใหญ่อาจยังมองเห็นว่ามีความนูนเล็กน้อย แผลนิ่มลง เนื้อสัมผัสผิวอาจไม่เรียบเนียนเหมือนปกติ  และอาจมีการกลับมาขยายขนาดได้ซ้ำ ถ้ามีประวัติว่าเคยเป็นคีลอยด์มาก่อน

แผลคีลอยด์รักษายังไง

   ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีวิธีการรักษาคีลอยด์ให้หายขาด  แต่ก็จะช่วยทำให้แผลขนาดเล็กลง ลดอาการคัน ระคายเคืองได้ การรักษาทางการแพทย์ในปัจจุบันมีหลายวิธี ตั้งแต่

  1. การใช้แผ่นซิลิโคนเจล ได้ผลดีเมื่อเป็นแผลเป็นขนาดเล็ก แนะนำให้ใช้ปิดแผลเป็นไว้ตลอดเวลา  ต่อเนื่องประมาณ 3 เดือน จะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น ช่วยกดทับไม่ให้มีสร้างเนื้อเยื่อแผลเป็นเพิ่ม
  2. ฉีดยาสเตียรอยด์ เป็นการฉีดตัวยาที่ช่วยลดการอักเสบ ชื่อ Triamcinolone Acetonide เข้าไปตรงจุดที่เป็นคีลอยด์ โดยแพทย์จะใช้ความเข้มข้นตามมีความเหมาะสมของแต่ละเคส เพื่อให้ลดการอักเสบ ลดการทำงานของเซลล์สร้างแผลเป็น  ทำให้ขนาดยุบลง  วิธีนี้เป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด เพราะทำง่าย เห็นผลดี และราคาไม่สูง โดยปกติจะเริ่มเห็นผลว่าขนาดคีลอยด์เล็กลงตั้งแต่หลังฉีดครั้งแรก แนะนำฉีดห่างกันประมานทุก 1 เดือน จนกว่าคีลอยด์ขนาดเล็กลงจนพอใจ 
  3. การใช้เลเซอร์  มีเลเซอร์หลายชนิดที่ช่วยรักษาคีลอยด์ได้ เป็นกลุ่มเลเซอร์ที่ช่วงความยาวคลื่นเจาะจงกับเส้นเลือดใต้ผิวหนัง และการจัดเรียงคอลลาเจนใหม่ เช่น Pulse Dye Laser, Fraction Laser, Picosecond Laser การทำเลเซอร์อาจต้องทำต่อเนื่องหลายครั้งถึงเห็นผลชัดเจน
  4. การผ่าตัด เป็นการผ่าเพื่อเอาเนื้อคีลอยด์ออก โดยใช้เทคนิกผ่าเส้นตรง หรืออาจผ่าแบบซิกแซก  หลังจากผ่าแล้วมักใช้การฉีดยาที่แผลหรือใช้ซิลิโคนปิดทับเพื่อป้องกันคีลอยด์ไม่ให้กลัยมานูนซ้ำ  การผ่าตัดจะเหมาะกับผู้ที่มีแผลขนาดใหญ่และเป็นมานาน

ฉีดคีลอยด์ กี่ครั้งหาย

   การฉีดคีลอยด์ เป็นวิธีการรักษาที่นิยมที่สุด เพราะทำได้ง่าย และเห็นผลดี  ผลการรักษาจะค่อยๆรู้สึกได้ว่าคีลอยด์ขนาดเริ่มเล็กลงตั้งแต่ครั้งแรก  แต่ควรต้องรับการรักษาหลายครั้ง  จำนวนครั้งในการฉีดขั้นต่ำประมาณ 3-5 ครั้งขึ้นไป บางคนอาจมากถึง 10 ครั้ง

   ผลการรักษาขึ้นอยู่กับ ขนาดของคีลอยด์ หากขนาดใหญ่จะเห็นผลช้ากว่า ,ตำแหน่งที่เป็น หากเป็นตำแหน่งที่มีการขยับหรือเสียดสีบ่อย จะตอบสนองช้ากว่า , ระยะเวลาที่เป็น หากเป็นมานานแล้วจะเห็นผลช้ากว่า และขึ้นกับการตอบสนองของแต่ละบุคคล

   ผลที่ได้หลังจากฉีด ในครั้งแรกๆ คีลอยด์จะขนาดเริ่มเล็กลงและ อาการคันจะดีขึ้น  เมื่อรักษาต่อเนื่องอย่างน้อย 3 ครั้งไปแล้ว ขนาดของแผลจะลดลงอย่างชัดเจน  แต่สุดท้ายแล้ว แผลจะยุบจนเกทอเรียบ ไม่หายหมด 100% 

   อย่างไรก็ตาม ถึงแม้คีลอยด์จะหายแล้ว ก็มีโอกาสกลับมาเป็นใหม่ได้ในจุดเดิม

การรักษาแผลคีลอยด์ที่ กัญวราคลินิก

    ที่กัญวราคลินิก มีการรักษาคีลอยด์โดยใช้การฉีดยาสเตียรอยด์  ค่าใช้จ่ยเริ่มต้นที่ 500 บาท ขึ้นอยู่กับขนาดของคีลอยด์  ขั้นตอนการรักษา คือ

  • คุณหมอจะมีการประเมินและวางแผนการรักษาเบื้องต้นกับคนไข้ก่อน 
  • ก่อนฉีดประคบน้ำแข็ง และอาจมีการผสมยาชา เพื่อช่วยลดอาการเจ็บ
  • แพทย์ทำการฉีดยา โดยผสมยา 10-40 mg/cc ขึ้นกับความรุนแรง
  • หลังฉีด ดูแลตัวเองตามปกติ
  • จะมีนัดมาติดตามอาการทุก 1 เดือน
keloid
keloid

Line

Facebook

Address

Tel